Image Image Image Image Image Image Image Image Image Image

Mayahol.com | April 20, 2024

Scroll to top

Top

No Comments

6 เทคนิคการทำ short note ขั้นเทพ

6 เทคนิคการทำ short note ขั้นเทพ
mayahol
  • On มิถุนายน 26, 2015
  • http://www.mayahol.com

ในหลาย ๆ ครั้งเนื้อหาของแต่ละบทเรียนที่เรียนก็มีปริมาณมากมายเหลือเกินจนทำให้ถ้าต้องอ่านชีททั้งหมดที่ใช้เรียนอาจจะอ่านไม่ทันได้ วิธีการแก้ไขทางหนึ่งคือการทำ  สรุปเนื้อหาในรูปแบบของตัวเองเมื่อเรียนจบแต่ละเรื่องทันที

เพื่อที่จะได้มีสรุปของตัวเองไว้อ่านในช่วงใกล้สอบแต่การทำ short note สรุปที่ดีและมีคุณภาพนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นัก วันนี้ Top-A tutor จึงมี เทคนิคการทำ short note สรุปดี ๆ มาฝากน้อง ๆ และทุกคนที่ต้องอ่านหนังสือบ่อย ๆ มาฝากกันครับ

1. ตัวหนังสือไม่เยอะ

การทำสรุปที่อ่านง่าย ทบทวนได้รวดเร็ว และไม่ต้องเสียเวลาทำนานนั้นไม่ควรมีตัวอักษรเยอะครับ โดยให้เปลี่ยนตัวอักษรเหล่านั้นเป็น “ตัวย่อ” หรือ “สัญลักษณ์” ครับ เพื่อให้ง่ายต่อการทำ short note และการอ่านทบทวน เช่น คำว่า ตัวอย่าง = ตย. หรือ Ex. , สารประกอบ = สปก. , without = w/o , เพิ่มขึ้น = เป็นต้น โดยที่ตัวย่อหรือสัญลักษณ์เหล่านี้น้อง ๆ ไม่จำเป็นต้องไปหาตัวย่อมาตรฐานที่ไหนหรอกครับ เพราะ short note เราและทำให้เราอ่านเอง เราจึงสามารถกำหนดตัวย่อหรือสัญลักษณ์ขึ้นมาได้เองเลย ขอแค่ตัวเองอ่านรู้เรื่องเท่านั้นก็พอแล้วนี่ครับ

2. มีเน้นจุดสำคัญ

การทำ short note นั้นไม่ควรทำเพียงสรุปเนื้อหา แต่ควรมีการเน้นจุดสำคัญที่ออกสอบบ่อย ต้องจำให้ได้ ต้องรู้ด้วย จุดสำคัญเหล่านั้นน้อง ๆ จะรู้ได้จากการฟังครูในห้องเรียนแล้วครูพูดย้ำ ๆ หรือพูดว่าต้องรู้ ส่วนวิธีการการเน้นจุดสำคัญใน short note นั้นอาจเขียนเป็นกล่องข้อความแยกออกมาจากเนื้อหาปกติก็ได้ เพื่อให้เมื่ออ่านแล้วจะได้สะดุดเนื้อหานั้นและจำได้นั่นเอง

3. ไม่ต้องใส่เนื้อหาทั้งหมด

การทำ short note สรุปที่ดีนั้นต้องไม่ใส่เนื้อหาทั้งหมดครับ เพราะในบางครั้ง บางวิชา เนื้อหาอาจมีปริมาณมากมาย จนถ้าหากว่าใส่เนื้อหาทั้งหมดลงไปใน short note ก็คงจะเหมือนการเขียนหนังสือเล่มนึงเลยละ ดังนั้นไม่ต้องใส่เนื้อหากันหมดนะครับ ถามว่าแนวทางการเลือกเนื้อหาที่สำคัญ ไม่เลือกเนื้อหาเยอะเกิน หรือลึกเกินนั้นมีแนวทางอย่างไรก็ต้องบอกว่ามีหลายวิธีเลยละครับ เช่น สังเกตเองจากการดูข้อสอบเก่าว่าเขาออกลึกขนาดไหน ถามครูผู้สอนว่าต้องรู้เนื้อหาลึกขนาดไหน เป็นต้น

4. อ่านให้จบก่อน แล้วจึงทำสรุป

การอ่านให้จบทั้งหมดที่จะสรุปก่อนแล้วจึงค่อยทำสรุปมีข้อดีคือการที่น้องจะเห็นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด เหมือนมี Mind map ของเนื้อหาในสมองก่อนแล้วจึงนำ Mind map นั้นมาเขียนเป็น short note ทำให้เนื้อหาเป็นระเบียบ อ่านง่าย ต่างจากการอ่านไปทำสรุปไปที่ในบางครั้ง อาจต้องลบแก้ในบางจุดเมื่ออ่านไปเรื่อย เพราะพบว่ามันไม่ใช่อย่างที่คิด แก้ไปแก้มา เสียเวลาเปล่า ๆ ใช่ไหมละครับ

5. ใช้สีเข้าช่วย

วิธีหนึ่งที่จะทำให้การทำ short note ไม่น่าเบื่อ และเมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งก็ไม่รู้สึกว่าไม่น่าอ่าน คือ การใช้สีเข้าช่วย อาจเป็นไฮไลท์ หรือปากกาสีก็ได้ เปลี่ยนสีการจดบ้าง เช่น หัวข้อจะใช้สีแดงเขียน เนื้อหาจะใช้สีฟ้าเขียน จุดสำคัญที่ต้องการจะเน้นแยกจากเนื้อหาจะใช้สีเขียว เป็นต้น

6. ทำเป็น Mind map หรือ ใช้โครงของ Mind map

ตัวอย่างรูปแบบการทำสรุปรูปแบบหนึ่งที่นิยม และมีประสิทธิภาพคือการทำในรูปแบบของ mind map เพราะจะทำให้อ่านง่าย เห็นภาพรวม ว่าเนื้อหานี้มีกี่หัวข้อใหญ่ และแต่ละหัวข้อใหญ่มีกี่หัวข้อย่อย และเนื้อหาแต่ละส่วนเชื่อมโยงกันอย่างไรนั่นเอง

6 เทคนิคข้างต้นก็เป็นเทคนิคการทำ Short note สรุปง่าย ๆ สำหรับน้อง ๆ ทุกคนที่อยากทำสรุปเป็นของตัวเองแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี นำไว้เป็นแนวทางในการทำนะครับ ใครต้องการแชร์แบ่งปันเพื่อน ๆ ก็ยินดีนะครับ ส่วนคอนเม้น ติชม แนะนำสามารถคอมเม้นด้านล่างได้เลยครับ

ขอบคุณเนื้อหาจาก top-atutor
เว็บ sanook.com
eduzone.com